Drone โดรนเพื่อการเกษตร
เทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรกรไทย
การใช้โดรนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ และโลหิต
ปัจจุบันทั่วโลกจะมีธุรกิจและบริการต่างๆ ทางด้านการแพทย์อยู่มากมาย หนึ่งในความท้าทายใหญ่ที่สุดคือ การส่งเวชภัณฑ์ไปยังพื้นที่
ห่างไกล ไม่มีทางเข้าถึงหรือคุณภาพทางแย่มากๆ ทำให้ต้องใช้เวลานาน หรือ อาจททำไม่ได้เลยในช่วงฤดูฝนที่ถนนถูกตัดขาด
การใช้โดรนในการขนส่งเวชภัณฑ์ฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ต่างๆ สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยมีโครงการนำร่อง
เป็นประเทศแรกที่ "รวันดา" ในทวีปแอฟริกา เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ส่งใบคำสั่งซื้อทางอีเมลหรือ SMS ไปยังศูนย์เวชภัณฑ์กลาง
ทีมงานจะจัดเวชภัณฑ์และนำส่งด้วยโดรนบังคับซึ่งบิน ด้วยความเร็ว
100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ส่งถึงผู้ต้องการใช้เร็วกว่าการขนส่งด้วยวิธีอื่น
โดยสามารถถึงจุดหมายปลายทางได้ภายใน 15-35 นาที และการขนส่งที่รวดเร็วยังทำให้ไม่ต้องมีระบบรักษาความเย็นอีกด้วย
โดรนทั้งหมดจะบินโดยใช้ระบบติดตามที่ทำให้สามารถค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุด และยังติดตามการขนส่งจนกว่าจะสำเร็จ
เมื่อโดรนถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ยาและเวชภัณฑ์จะถูกถ่ายลงจากโดรนด้วยร่มชูชีพขนาดเล็ก และลงถึงพื้นที่ของโรงพยาบาลอย่างแม่นยำ
และบินกลับยังศูนย์การบินเพื่อทำภารกิจต่อไป
โดรนที่ใช้ในการส่งเวชภัณฑ์ จะเป็นแบบ Fixed Wing Drone หรือ โดรนปีกแข็ง (บางที่เรียกโดรนปีกตรึง หรือ โดรนปีกนิ่ง) สามารถบินได้ระยะทางไกลกว่า และมีความเร็วสูง ส่วนข้อจำกัดคือ ต้องใช้รันเวย์ในการบินขึ้นและลงจอด จึงต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยส่งโดรนขึ้นบน
และการนำโดรนลงจอดได้ ชมการทำงานของการใช้โดรนส่งเลือดในรวันดา การนำโดรนขึ้นบนและลงจอดได้จากคลิป